เทคนิคการเลี้ยงปูนาเบื้องต้น

by pkpunathai

          เทคนิคการเลี้ยงปูนาเบื้องต้นเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ เพื่อบริโภคและจำหน่ายตลอดทั้งปี

ปูนาเข้ม 

เทคนิคการเลี้ยงปูนาเบื้องต้น  นั้นเดิมที่ปูนาเป็นสัตว์ที่คุ้นหูคุ้นตาชาวนาเป็นอย่างดี ที่สารเคมีและยาฆ่าแมลงยังมีไม่มากมายเหมือนปัจจุบันและเป็นศัตรูตัวฉกาจที่สำคัญของชาวนา  เพราะว่าปูนาจะกัดกินต้นข้าวที่ปักดำใหม่ๆทำให้ชาวนาต้องปักซ่อมหลายครั้ง นอกจากนี้ปูนายังขุดรูอยู่ตามคันนาทำให้คันนาไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้  แต่ปูนาก็เป็นอาหารที่ราคาถูกและหาง่าย  โดยเฉพาะวิถีชีวิตของคนชนบท และนำมาประกอบอาหารประเภทต่างๆ เช่น ส้มตำ ปูอ่อง ปูเผา ปูทอดเกลือ ปูนานึ่ง เป็นต้น  ในส่วนนี้แนะนำให้ปรุงสุกก่อนรับประทานเพื่อความปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ


          ปูนามีแพร่อยู่กระจายตามภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงบางพื้นที่ของเอเชียตะวันออก  ปูนาของประเทศไทยพบมากอยู่หลายชนิดบางชนิดกระจายพันธุ์ไปทั่วทุกภาค  บางชนิดก็พบมากในหลายจังหวัดในประเทศ  ปูนาจะพบมากในฤดูฝนเป็นที่อุดมสมบูรณ์เพราะวิถีชีวิตของปูนาจะผูกพันกับน้ำ  โดยจะผสมพันธุ์กันและวางไข่ปีละครั้งในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ถึงกรกฎาคม  ปูนาตัวเมียเมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูอยู่สูงกว่าระดับน้ำ  เพื่อเตรียมอุ้มไข่และจะไม่ลอกคราบจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว  ปูนาส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืนปูนาใช้การลอกคราบราว 13 ถึง 15 ครั้ง  หลังจากฟักเป็นตัวจะใช้เวลา 7 ถึง 8 เดือน จึงโตเต็มวัย


          นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่าเปลือกกระดองของปูนามีสารไคตินสูงถึงร้อยละ 19.27 ในขณะที่เปลือกกระดองของปูทะเลมีเเพียงร้อยละ 14.14 เท่านั้น  ดังนั้นเปลือกกระดองของปูนาจึงมีประโยชน์ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตไคโตรซานได้เป็นอย่างดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น
          ปัจจุบันปูนาแทบจะหายไปจากท้องนาเนื่องจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร ทั้งปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง  แต่รสชาติและความหอมเวลาเราเผาปูก็ทำให้ใครหลายๆคนคนึงหา  จึงนำมาเลี้ยงและเพาะพันธุ์เพื่อบริโภคและจำหน่าย ซึ่งมีผู้ประสบความสำเร็จหลายๆ ท่านเลยทีเดียว


          วันนี้เราขอเรียบเรียงนำแนวทางวิธีการเลี้ยงจากหลายๆ ฟาร์ม หลายๆ ท่านที่ประสบความสำเร็จการเลี้ยงปูนา มานำเสนอให้กับท่านที่สนใจอยากจะเลี้ยงปูนาจากผู้มีประสบการณ์ความรู้ เพื่อจะเอาไปต่อยอดในอนาคต  ข้อควรรู้เกี่ยวกับปัญหาปูนาตาย ปูนาสลัดขา เริ่มแรกหลายท่านคิดว่าบ่อเลี้ยงปูนาจะต้องมีน้ำ ดิน หญ้า และองค์ประกอบอื่นๆ จำลองบ่อเลี้ยงตามธรรมชาติแล้วปล่อยปูนาลงไปแค่นั้นก็พอ  แต่ความเป็นจริงแล้วเมื่อได้ทดลองปรากฏว่าปูนาตายทั้งหมด
          การศึกษาจากผู้เพาะเลี้ยงได้พบว่าดินเมื่อเจอกับน้ำจะขุ่นปูนาเดินขึ้นลงน้ำก็ขุ่นพอน้ำขุ่นเมื่อปูนาอยู่ในน้ำแล้วจะมีการฟอกอากาศเข้าไปในร่างกาย  ซึ่งก็เหมือนกับคนที่ได้รับสารพิษเข้าไปก็จะทำให้ตายได้  หลายท่านคิดสงสัยว่าธรรมชาติของปูนาก็อยู่กับดินแต่ทำไมไม่ตาย  สาเหตุเพราะว่าปูนาในธรรมชาติเมื่อเจอน้ำขุ่นแล้วฟอกอากาศเข้าไปแล้ว  ปูนาก็จะหาแหล่งน้ำที่ใสจากธรรมชาติเพื่อฟอกตะกอนที่อยู่ในตัวออกไป  แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในบ่อปูนแล้วใส่ดินจะไม่มีพื้นที่น้ำใสน้ำจะขุ่นทั้งหมดพอฟอกตะกอนออกไม่ได้ปูนาก็ตาย  ปัญหาอีกอย่างคือเรื่องของอากาศปูนาจะใช้เวลาปรับสภาพประมาณ 3 - 5 วัน บางพื้นที่อาจจะใช้เวลาถึง 7 วัน  อากาศเย็นจะทำให้ปูนาสลัดขาแล้วก็ตายเหมือนการนำปูนาไปสัมผัสน้ำแข็ง  ถ้าปูนาโดนน้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดจะสลัดขาทั้งหมดออกโดยอัตโนมัติแล้วก็ตาย  แต่ถ้าเป็นการสลัดขาเองตามปกติประมาณว่าอยู่ดีๆ แล้วสลัดขาเองอาจจะเกิดจากการหนีคู่ต่อสู้โดยต้องสลัดก้าม  หรือเพื่อให้วิ่งหนีได้เร็วขึนและปกติตามธรรมชาติส่วนที่ปูนาสลัดทิ้งก็จะงอกขึ้นมาใหม่ตามธรรมชาติเมื่อมีการลอกคราบ


          สำหรับการเลี้ยงปูนาก้ามหนีบกัน  ก้ามหลุด  ขาขาดเป็นเรื่องปกติ  แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าปูนาไม่ลอกคราบก็สามารถผลิตและยังงอกขึ้นมาใหม่ได้  เพียงแต่เมื่อเราพบเจอก็แยกเขาไว้ต่างหากขาปูนาก็จะงอกได้เร็วขึ้น  ควรจะมีบ่อปฐมพยาบาลปูนาไว้สำหรับปูนาขาขาด ก้ามหลุด  ซึ่งลักษณะขาที่งอกออกมาใหม่นั้นจะนุ่มนิ่มขยับไปมาบางคนคิดว่าปลิงไม่ใช่นะครับ...เราจึงควรมีบ่อปูนาสลัดขาโดยเฉพาะซึ่งจะใส่น้ำเสมอปากปูแล้วให้อาหารเม็ดลอยน้ำให้ปูกินปูก็จะงอกขาใหม่และมีชีวิตอยู่ได้
          เกษตรกรทางภาคเหนือมักจะเจอปัญหาภูมิอากาศที่เย็นกว่าภาคอื่น ทำให้ปูนาที่นำมาเลี้ยงปรับสภาพไม่ทัน  สลัดก้ามและสลัดขาทิ้งแล้วก็ตายลง  พออากาศเย็นจัดผู้เลี้ยงต้องเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นซึ่งปูนาอยู่ได้ปกติอยู่แล้วเพราะปูนาเป็นสัตว์น้ำน้ำลึกแค่ไหนก็สามารถอยู่ได้  เหตุผลที่ต้องให้เพิ่มระดับน้ำเพราะว่ายิ่งน้ำลึกเท่าไรใต้ท้องน้ำก็จะยิ่งอุ่นผิวน้ำด้านบนก็จะเย็นจึงเพิ่มด้วยผักตบชวาที่ลอยน้ำก็จะทำให้น้ำอุณภูมิคงที่  โดยภาพรวมคือ ปูนาจะชอบอุณภูมิน้ำปกติมากกว่าถ้าเย็นจัดมีการตายแน่นอน


สรุปคำถามปัญหาที่พบบ่อยในเทคนิคการเลี้ยงปูนาเบื้องต้น  คือ
          ปูตายจากการถูกทำร้าย หนีบกันตาย ก้ามหลุด ขาหลุด วิธีแก้ปัญหา -  เพิ่มที่หลบซ่อนให้เพียงพอต่อจำนวนปู เช่น อิฐบล็อค กระเบื้อง สแลน ผักตบชวา หรือพืชน้ำต่างๆ ปูนิ่มตายหลังจากการลอกคราบ วิธีแก้ปัญหา -  เช่นเดียวกับข้อที่ผ่านมาคือเพิ่มที่หลบซ่อน  ในกรณีที่เราพบเห็นการลอกคราบให้เรานำตัวปูนานิ่มหรือตัวปูนาที่ลอกคราบใหม่ๆไปใส่ในตะกร้าหรือในกะละมังแยกไว้ต่างหาก - ให้อาหารตามปกติ ปูนิ่มจะใช้ระยะเวลา 2-3 วันก็จะกระดองแข็งสามารถที่จะนำกลับมาใส่ไว้ที่เดิม น้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นเร็วเกินไป วิธีแก้ปัญหา -  การลดให้อาหารปูนาน้อยลง  เศษอาหารทีู่นากินเหลือมีผลส่งให้น้ำเน่าเสียเร็ว  การทำความสะอาดบ่อขัดบ่อเอาคราบสกปรกออกแล้วทำการตากบ่อให้แห้งทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน  โรยเกลือฆ่าเชื้อจุลินทรีย์  เชื้อโรคต่างๆที่อยู่ในบ่อเลี้ยงปูนาจากนั้นทำความสะอาดบ่ออีกที เติมน้ำ จัดระบบนิเวศ จัดที่หลบซ่อนให้พอเพียง แล้วจึงนำปูกลับไปเลี้ยงใหม่ (Credit by คัมภีร์ชีวิต StudiO)
#การเลี้ยงปูนา #การเพาะพันธุ์ปูนา #ปูนาไทย #ปูนา #ขายปูนา #อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ #pkpunathai


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่นี่ : สมัครสมาชิกฟรี 
ลงทะเบียนฟรี Website : https://bit.ly/2TCpaWA
Fanpage Inbox : https://www.facebook.com/pkpunathai/inbox/ 
Line@ : มี “@” นำหน้า @pkpunathai หรือ https://line.me/R/ti/p/%40pkpunathai 
Tel. : 093-961-6251, 083-699-5325
Share:

Translate/แปลภาษา

เพิ่มเพื่อน LINE@ ที่นี่เลย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวไทยพีบีเอส - เกษตร

บทความที่ได้รับความนิยม

ตามรอยพ่อ อย่างพอเพียง

บทความล่าสุด

FACEBOOK เพจของเรา

บัญชี LINE@ ของเรา

บัญชี LINE@ ของเรา
สแกนเพิ่มเพื่อน LINE@ ที่นี่เลย

บทความที่ได้รับความนิยม