การทำบ่อเลี้ยงปูนาหรือบ่อที่ใช้เลี้ยงปูนา มีดังนี้
การทำบ่อเลี้ยงปูนาหรือบ่อที่ใช้เลี้ยงปูนานั้นสามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวก ความเหมาะสมกับพื้นที่ที่เรามี เช่น บ่อปูนสี่เหลี่ยม บ่อปูนกลมหรือวงซีเมนต์ บ่อดิน บ่อสำเร็จรูป หรือแม้กระทั้งทำนาปูในที่ทำนา การเลี้ยงในบ่อดินนั้นจะขุดบ่อลงไปประมาณ 10 ซม. และหาสังกะสีเก่าหรือกระเบื้องล้อมรอบบ่อกันปูไต่ออก หรือจะใช้ตาข่ายตาถี่ล้อมก็ได้โดยให้ระดับน้ำอยู่ประมาณ 3-4 นิ้ว หรือ 10 ซม. ข้างในบ่อจะปลูกพืชผักน้ำ เช่น ต้นข้าว ผักตบชวา ผักบุ้ง เป็นต้น ซึ่งก็สามารถทำได้หลายแบบเช่นบ่อน้ำทั้งบ่อมีพื้นที่คันดินให้ปูขึ้นมาพักรับแดดหรือขุุดเป็นบ่อเล็กกลางบ่อก็ได้
การเลี้ยงในบ่อปูนสี่เหลี่ยม ซึ่งขนาดก็แล้วแต่พื้นที่ของเราเล็กใหญ่ตามปัจจัยที่เราสะดวกความสูงอยู่ที่ประมาณ 2-3 อิฐบล็อค ซึ่งบ่อปูนใหม่ก็ต้องกำจัดฤทธิ์ของปูนเสียก่อนด้วยการแช่ต้นกล้วยสับไว้สักประมาณ 1-2 อาทิตย์ จนต้นกล้วยเริ่มเปื่อยสังเกตปูนในบ่อปูนจะคล้ำขึ้นหรือดูจากสัตว์น้ำเล็กๆ ลูกน้ำ ไร เกิดขึ้นมาก็จะใช้ได้ จากนั้นก็ถ่ายน้ำเก็บเศษกล้วยออกเติมน้ำใหม่ใส่พืชน้ำ เช่น ผักตบชวา สาหร่าย อิฐบล็อค กระเบื้องหลังคา เพื่อเป็นที่หลบซ่อนทิ้งไว้สัก 1-2 วัน ซึ่งการเลี้ยงปูนาในบ่อสี่เหลี่ยมจะมีการเลี้ยงแบบใส่ดินและเลี้ยงแบบน้ำใสไม่ใส่ดินด้วยกัน
การเลี้ยงปูนาในบ่อปูนกลมหรือวงบ่อซีเมนต์ วงบ่อต้องมีก้นบ่อถ้าไม่มีก็ให้เทปูนใหม่จะต่อท่อระบายน้ำก็จะยิ่งสะดวกในการถ่ายน้ำบ่อปูนใหม่สิ่งที่จะทำก็คือต้องแช่กล้วยสับเหมือนบ่อปูนสี่เหลี่ยมเพื่อลดฤทธิ์ของปูนซีเมนต์โดยแช่ไว้ 1-2 อาทิตย์ การสังเกตก็แบบเดียวกับบ่อปูนซีเมนต์สี่เหลี่ยมหรือใช้น้ำส้มสายชูในครัวเรือนผสมแช่น้ำ ถ้าขวดเล็ก 300 มิลลิลิตร ก็ใช้ 2 ขวด ถ้าขวดใหญ่ก็ใช้ขวดเดียวประมาณ 1-3 วัน เพื่อดูดความเค็มของปูนได้เร็ว จากนั้นถ่ายน้ำล้างบ่อแล้วเติมน้ำใหม่ทิ้งไว้ 1-3 วันใส่พืชน้ำ ผักตบชวา สาหร่าย อิฐบล็อค กระเบื้องหลังคา เพื่อเป็นที่หลบซ่อนของปูนาระยะเวลkเร็วช้าก็แตกต่างกันไปนะครับ ใช้การสังเกตเป็นหลัก
การเลี้ยงในบ่อผ้าใบสำเร็จรูป วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีพื้นที่แต่ไม่อยากขุดบ่อจะเลี้ยงแบบระบบบ่อน้ำใส การเลี้ยงแบบนี้ก็จะเปลี่ยนน้ำบ่อยแต่ก็จะจับปูนาได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังต้องมีกระเบื้องใส่ลงไปให้ปูนาหลบและไม่ทำลายกันเอง ด้วยพฤติกรรมของมันที่ไม่ชอบที่โล่งๆ รวมทั้งมีระบบปล่อยน้ำด้วยสปิงเกอร์ให้ด้วยเป็นการปรับระบบให้เหมือนมีฝนตก ปูนาจะมีสุขภาพจิตดีมีอัตรารอดสูงมากนั่นเอง
การเลี้ยงปูนาควรมีบ่อเลี้ยงอย่างน้อย ดังนี้
บ่ออนุบาล, บ่อผสมพันธุ์, บ่อเลี้ยง, และบ่อรักษาฟื้นฟูปูนาที่สลัดขา ควรวางท่อปล่อยน้ำทิ้งเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ รวมถึงการเจาะรูน้ำล้นเวลาเติมน้ำจะได้สะดวกเช่นกัน การเลี้ยงในบ่อแต่ละรูปแบบก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ก็ให้เลือกที่สะดวกและเหมาะสมกับตัวเราลงไป (Credit by คัมภีร์ชีวิต StudiO)
ข้อแนะนำ การลดอัตราการตายของปูนาช่วงฤดูฝนเราจะมีวิธีการดูแลปูนาอย่างไร
วิธีการอย่างไรที่จะทำให้ปูนาลดอัตราการตายได้ในช่วงนี้เราจะมีวิธีการดูแลปูนาอย่างไร ดังนี้ น้ำฝนก็มีผลทำให้ปริมาณน้ำในบ่อเลี้ยงปูนามีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นและนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปูนาที่เลี้ยงไว้ตายได้ วิธีการคือเจาะรูระบายน้ำออกจากบ่อเลี้ยงปูนาหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการเจาะรูกันน้ำล้นนั่นเอง การเจาะรูระบายน้ำออกก็จะอยู่ประมาณ 10 ซม.จากพื้นบ่อ แล้วเจาะใส่ท่อพีวีซีไว้ก็เป็นวิธีที่ง่ายอีกวิธีหนึ่งเวลาฝนตกลงมาน้ำฝนก็จะไหลออกจากรูระบาย เพื่อเป็นการรักษาระดับน้ำเอาไว้ให้คงที่ไม่ให้มีปริมาณมากเกินไปใช้ได้ทั้งการเลี้ยงน้ำเค็มและน้ำจืด เพื่อให้ปูนาปรับตัวให้ชินกับสภาพอากาศและพื้นที่ยังคงอยู่ในสภาพเดิม เป็นการลดอัตราการตายของปูนาได้นั่นเอง
(โดย รักบ้านเกิด Rakbankerd.com) #การเลี้ยงปูนา #การเพาะพันธุ์ปูนา #ปูนาไทย #ปูนา #ขายปูนา #อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ #pkpunathai
———————————————————
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่นี่ : สมัครสมาชิกฟรี
ลงทะเบียนฟรี Website : https://bit.ly/2TCpaWA
Fanpage Inbox : https://www.facebook.com/pkpunathai/inbox/
Fanpage Inbox : https://www.facebook.com/pkpunathai/inbox/
Line@ : มี “@” นำหน้า @pkpunathai หรือ https://line.me/R/ti/p/%40pkpunathai
Tel. : 093-961-6251, 083-699-5325
———————————————————