การอนุบาลลูกปูนา หลังจากที่ลูกปูนาออกจากหน้าท้องของแม่ปู 7 วันแรกจะให้เป็นไข่แดงต้มสุก แนะนำว่าต้องเป็นไข่เป็ดเพราะเป็นสารเร่งโตจะน้อยกว่าไข่ไก่ลูกปูนารับไม่ไหว หลังจากนั้นจะให้เป็นไรแดง ไข่แดงต้มสุกจะไข่ไก่หรือเป็ดก็ได้ ไข่ตุ๋นหรือเต้าหู้ ผักผำ เป็นต้น จะทำให้ลูกปูนาเจริญเติบโตได้ดี กินไปประมาณ 1 เดือนครึ่ง โดยให้วันละ 1 มื้อในช่วงเย็น บางฟาร์มก็อาจให้ 2 มื้อ เช้า-เย็นก็ได้ให้อาหารแต่พอเหมาะป้องกันน้ำเน่าเสียเร็วได้ การอนุบาลลูกปูนาไม่ง่ายหากไม่ได้สังเกตอย่างจริงจัง ลูกปูนาก็เหมือนเด็กทะเลาะกัน ตีกัน ตัวใหญ่กว่าจะแย่งอาหารตัวเล็กกว่า ก่อนจะโตอาจเหลือจำนวนน้อยมากปูนาเด็กโตเร็วทำให้ลอกคราบบ่อยพอลอกคราบก็จะอ่อนแอตกเป็นเหยื่อตัวที่แข็งแรงกว่านั่นเอง
ช่วงอนุบาลลูกปูไม่ควรเปลี่ยนน้ำบ่อยลูกปูนาจะตายง่ายควรเปลี่ยนหลังจากลูกปูนาครบ 1 เดือน และเมื่อเลี้ยงลูกปูนาครบ 30 วันหรือ 1 เดือน ก็สามารถนำไปปล่อยเลี้ยงในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์เพื่อขุนต่อไป ระยะนี้ก็จะเลี้ยงด้วยอาหารไฮเกรดเป็นอาหารเลี้ยงลูกอ๊อดชนิดเม็ดลอยน้ำ หรือข้าวสวยผสมโคลงไก่และอาหารเม็ด หรืออาจเสริมด้วยแหนแล้วแต่ผู้เลี้ยงจะสะดวก การให้อาหารปูนาก็จะขึ้นมากินอาหารเอง โดย 1 ตัวกินประมาณ 4-5 เม็ด ให้ทุกวันในช่วงเย็น
การเจริญเติบโต ลอกคราบ การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
ปูนามีการเจริญเติบโตโดยการลอกคราบเช่นเดียวกับปูชนิดอื่นๆ หลังจากฟักเป็นตัวแล้วปูนาจะลอกคราบประมาณ 13-15 ครั้งก็จะโตเป็นตัวเต็มวัย ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการปูนาตัวเต็มวัยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6-8 เดือน ปูที่จะลอกคราบสังเกตได้จากรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองจะกว้างมากกว่าปกติ เมื่อใกล้จะลอกคราบปูนาจะนิ่งและยืดขาออกไปทั้งสองข้าง
จากนั้นรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองจะเปิดออกส่วนท้าย พร้อมทั้งขาเดินคู่สุดท้ายจะออกมาก่อน จากนั้นขาคู่ถัดมาจะค่อบๆโผล่ออกมาตามลำดับส่วนก้ามคู่แรกจะออกมาเป็นลำดับสุดท้าย ระยะเวลาที่ใช้ลอกคราบทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมง ในส่วนของการเปลี่ยนถ่ายน้ำให้สังเกตว่าน้ำเริ่มมีกลิ่นเหม็นหรือขุ่นข้นมากก็ค่อยเปลี่ยน ถ้าสะดวกจะเปลี่ยนอาทิตย์ละครั้งหรือ 2 อาทิตย์ครั้งก็ได้ หากปูตายโดยไม่ทราบสาเหตุควรถ่ายน้ำ ขัดบ่อเอาคราบสกปรกออกแล้วทำการตากบ่อให้แห้งๆทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน โรยเกลือฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่อยู่ในบ่อเลี้ยงปูนา จากนั้นทำความสะอาดบ่ออีกครั้ง เติมน้ำใหม่ จัดระบบนิเวศ จัดที่หลบซ่อนตัวให้พอเพียง ทิ้งไว้ 1 วันค่อยนำปูที่เหลือลงไปเลี้ยงใหม่
ระยะเวลาการเลี้ยงปูนา
ระยะเวลาการเลี้ยงปูนาจนพร้อมเป็นพ่อแม่พันธุ์จะอยู่ราว 7-8 เดือน แต่ก็สามารถจำหน่ายได้ 2-4 เดือนสามารถแปรรูปเป็นอาหารต่างๆ เช่น ปูจ๋า ปูอ่อง ปูดอง ปูทอด หรือเป็นปูเหยื่อสำหรับนักตกปลาวางเบ็ดปลาช่อน อายุ 6 เดือนสามารถเริ่มเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้ อายุขัยของปูเฉลี่ยประมาณ 2-4 ปี พ่อแม่พันธุ์อายุ 6 เดือนจะสมบูรณ์ที่สุด สามารถใช้เพาะพันธุ์ได้ประมาณ 4-6 ครั้ง ก็จะตายนั่นเอง
การบังคับให้ผสมพันธุ์นอกฤดูกาล
ตามธรรมชาติปูนาจะออกลูกปีละครั้งแต่ปัจจุบันผู้เลี้ยงจะบังคับให้ผสมพันธุ์นอกฤดูกาล จากการสังเกตพบว่าก่อนที่ปูนาจะผสมพันธุ์ตามธรรมชาติในช่วงฤดูร้อนจะต้องจำศีล ช่วงเวลาปูนาจำศีลจะอยู่ในรูใต้ดินลึกมาก แล้วปูนารู้ได้ยังไงว่าฝนตกก็เนื่องจากว่าเวลาฝนตกน้ำฝนจะซึมลงดิน อุณหภูมิของดินก็ต่ำลงมีความชื้นทำให้ปูนารู้ว่าฝนตกแล้วต้องขึ้นมาผสมพันธุ์ ผู้เลี้ยงจึงใช้หลักการนี้มาใช้ผสมพันธุ์เทียมในบ่อปูนโดยบ่อปูนจะมีรูระบายน้ำให้ค่อยๆปล่อยน้ำจนน้ำแห้ง แล้วปล่อยให้บ่อปูนแห้งสนิทไปเลยโดยที่ไม่ต้องให้อาหารด้วย ก็จะสังเกตด้วยว่า
ตัวปูนาจะแห้งพอปูนาตัวแห้งก็จะเริ่มหาที่จำศีลเพราะคิดว่ากำลังเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนก็จะเริ่มเข้าไปอยู่ในรูอิฐบล็อค หลังจากที่ปูนาไปอยู่ในรูอิฐบล็อคแล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วค่อยๆเติมน้ำเข้าไปในบ่อ นำสแลนมาคุมแล้วนำสังกะสีมาทับปากบ่อแล้วต่อยๆฉีดน้ำ การฉีดน้ำจะค่อยๆ ฉีดให้เป็นฝอยๆ ถ้าฉีดแรงจะทำให้ปูตกใจได้ต้องจำลองให้เหมือนฝนตก พร้อมๆ กับค่อยๆ เพิิ่มระดับน้ำในบ่อจะทำให้ปูนารู้สึกว่ากำลังจะเข้าฤดูฝนอีกครั้ง ก็จะออกมาจากรูอิฐบล็อคเพื่อมาผสมพันธุ์อีกครั้ง
ก่อนผสมพันธุ์ปูนาจะมีสีสันที่หลากหลายแต่สิ่ี่ปูนาจะผสมพันธุ์ได้ดีที่สุด คือสีแดงดำอมม่วง พอปูนาเริ่มเจอน้ำจากที่ตัวเคยมีสีเหลืองม่วงส้ม ก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำอมม่วงในช่วงผสมพันธุ์และเมื่อเราเติมน้ำได้ตามจุดที่ต้องการ คือประมาณ 10-15 ซม. หรือมากกว่านั้นก็ได้ ก็จะเข้าสู่รอบผสมพันธุ์ของปูนาซึ่งการฉีดน้ำในแต่ละครั้งจะใช้เวลา 5-10 นาที หลังจากนั้นปูนาจะเริ่มจับคู่กันแล้วแยกกันอยู่ในรูคู่ใครคู่มัน โดยตัวเมียอยู่ในรูตัวผู้อยู่ปากรูเพื่อคอยเฝ้าดูแลจนกว่าจะออกลูกเป็นตัวแล้วจึงออกจากรู ใช้เวลาผสมพันธุ์จนออกลูกใช้เวลาประมาณ 30-35 วัน หลังจากที่ไข่ในกระดองสมบูรณ์เต็มที่ปูนาถึงจะคลายไข่ที่กระดองมาไว้ที่หน้าท้องหรือที่เราเรียกว่าจับปิ๊นั่นเองครับ สรุป การอนุบาลลูกปูนาและอาหารของลูกปูนาก็มีเพียงเท่านี้...โปรดติดตามบทความตอนต่อไปนะครับ...Credit by คัมภีร์ชีวิต StudiO